โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจประเมินสภาพฝายและ
วางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่จังหวัดลำปาง
1. หลักการและเหตุผล :
สืบเนื่องจากที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางได้รับคำร้องขอการสนับสนุนการปรับปรุงซ่อมแซมฝายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปางมาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งการรับเรื่องการปรับปรุงฝายส่วนใหญ่ไม่ได้มีการวางแผนและมีการเก็บข้อมูลครบถ้วนตามหลักวิชาการ มีปัญหากระทบทั้งด้านต้นน้ำและปลายน้ำ
ทำให้การผลลัพธ์ในเรื่องการสร้างประโยชน์ให้พื้นที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจากการลงพื้นที่รับฟังปัญหาของประชาชนในจังหวัดลำปาง ได้พบปัญหาสำคัญมากอีกอย่าง
คือ ฝายและระบบส่งน้ำที่มีอยู่จำนวนมากนั้น มีฝายอีกจำนวนมากที่ชำรุดเสียหายหรือมีประสิทธิภาพไม่ดี ได้แก่ การขาดความสามารถในการยกระดับผันน้ำเข้าคลอง
หรือเหมืองส่งน้ำไปใช้ในฤดูการเพาะปลูก ประตูน้ำชำรุด มีตะกอนหน้าฝาย และขาดความสามารถใช้เก็บกักน้ำไว้ใช้ที่บริเวณหน้าฝายในฤดูแล้ง และมีฝายบางส่วนที่สร้างปัญหากีดขวางทางน้ำ
ซึ่งถ้าแก้ไขปรับปรุงไม่ถูกหลักวิชาการจะก่อให้เกิดปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมขึ้นในพื้นที่ได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะเพิ่มและรุนแรงมากขึ้น ในแต่ละปีทางภาครัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก
ในการบรรเทาปัญหาภัยแล้งจากการขาดประสิทธิภาพของฝาย ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไม่มีความยั่งยืน และจากการหารือในคณะอนุกรรมทรัพยากรน้ำจังหวัดลำปาง
พบว่าจังหวัดลำปางยังขาดการจัดเก็บระบบฐานข้อมูลสภาพฝายของทุกหน่วยงานที่มีนับพันแห่ง ทำให้การวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เกษตรที่ใช้น้ำจากฝายยังทำได้ไม่ดี
เนื่องจากฝายจำนวนมากมีการชำรุด หลายหน่วยงานไม่สามารถซ่อมแซมได้เนื่องจากต้องใช้ความรู้ในวิชาการด้านวิศวกรรมชลศาสตร์ ขาดผลการตรวจประเมินสภาพฝายและไม่มีการเตรียมแนวทาง
การซ่อมแซมแก้ไขการชำรุดของฝายไว้ล่วงหน้า ทำให้เสียโอกาสในการได้ใช้งบประมาณจากภาครัฐในเรื่องการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเร่งด่วน ทั้งที่การใช้งบในการปรับปรุงซ่อมแซมฝายที่มีอยู่เดิมนั้น
สามารถทำได้โดยทันที เพราะไม่มีปัญหาเรื่องการใช้ที่ดินใหม่ และไม่มีปัญหาข้อขัดแย้งของชุมชน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ได้ผลนั้น จะต้องทำการตรวจประเมินสภาพฝายและระบบส่งน้ำ
ซึ่งเป็นการตรวจสภาพการใช้งานและความเสี่ยงต่อความปลอดภัยขององค์ประกอบต่าง ๆของฝาย และใช้องค์ความรู้ด้านวิชาการร่วมกับองค์ความรู้ของชุมชน มาวางแนวทางปรับปรุง
หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของฝาย เพื่อให้กลับมามีประสิทธิภาพ นอกจากนี้น้ำที่เก็บกักหน้าฝายจะเป็นแหล่งเติมน้ำให้กับชั้นน้ำใต้ดินระดับตื้นในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
และด้วยในต้นปี พ.ศ. 2566 องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางได้ดำเนินการโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจประเมินสภาพฝายและการบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและน้ำท่วม
ในจังหวัดลำปาง ระยะแรก ครอบคลุมทุกตำบลในพื้นที่ 6 อำเภอ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการสำรวจและบริหารจัดการพื้นที่
เสี่ยงภัยน้ำท่วมและภัยแล้งบนพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการขั้นสูงในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง 2 อำเภอ รวมเป็น 8 อำเภอ จาก 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง ได้แก่ อ.ห้างฉัตร
อ.เกาะคา อ.แจ้ห่ม อ.สบปราบ อ.เถิน อ.งาว อ.แม่เมาะ และ อ.แม่ทะ เพื่อทำระบบข้อมูลการตรวจประเมินและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝาย มีฐานข้อมูลและแนวคิดสำหรับ
วิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงฝาย โดยผลผลิตของโครงการที่ได้ จะทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ 8 อำเภอนี้
สามารถใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงฝายได้เป็นอย่างดี
จากกิจกรรมพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจประเมินและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่จังหวัดลำปาง ในระยะที่ผ่านมาได้มีข้อเสนอแนะจากหน่วยงาน ภาคประชาชน
องค์กร/มูลนิธิ อยากให้ดำเนินการจัดทำระบบนี้ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดลำปาง โดยในโครงการที่ผ่านมาได้ทำในพื้นที่ 8 อำเภอเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด
โดยยังเหลืออีกอำเภอ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองลำปาง อ.เสริมงาม อ.วังเหนือ อ.เมืองปาน และ อ.แม่พริก ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีฝายของหน่วยงานและชุมชนจำนวนมาก
ดังนั้นการดำเนินการจัดทำระบบสารสนเทศการตรวจประเมินและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่จังหวัดลำปาง ในระยะที่สอง ในพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ
ของการได้รับการข้อมูลสำคัญจากภาครัฐอย่างเท่าเทียมกัน และเพื่อให้หน่วยงานในพื้นที่นี้มีความพร้อมในการวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่จังหวัดลำปาง
เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งและภัยแล้ง และมีฐานข้อมูลการตรวจประเมินสภาพฝายครอบคลุมทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจประเมินสภาพฝายและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่จังหวัดลำปางในพื้นที่ของอีก 5 อำเภอ
ที่เหลือของจังหวัดลำปาง เพื่อจะได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยแล้งและน้ำท่วม ในเขตพื้นที่ความเสี่ยงสูงอย่างเป็นระบบ โดยเน้นกิจกรรมหลักเร่งด่วน (Quick Win)
ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศการตรวจประเมินและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมถูกหลักวิชาการ
มีการรวบรวมตำแหน่งของฝายทุกแห่งที่มีปัญหา และแนวทางวิธีการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบในแต่ละแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝายที่มีอยู่จำนวนมาก
ที่ก่อสร้างและอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน โดยผลผลิตที่ได้จะใช้เป็นข้อมูลสำคัญในกำหนดรูปแบบของการวางแผน การจัดหางบประมาณ
และลงมือปฏิบัติการแก้ไขปัญหาต่อไปโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดยังสามารถนำผลผลิตไป
ใช้วางแผนให้การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ในการปรับปรุงและซ่อมแซมฝายให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างประโยชน์ต่อหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ :
เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจประเมินและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่ทุกตำบลครอบคลุม 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝายที่มีอยู่จำนวนมากที่ก่อสร้างและอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้น้ำที่เก็บกักหน้าฝายจะเป็นแหล่ง
เติมน้ำให้กับชั้นน้ำใต้ดินในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อให้หน่วยงานมีความพร้อมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติจริง
3. กลุ่มเป้าหมาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :
3.1 กลุ่มเป้าหมาย :
1) องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง สามารถนำผลผลิตไปใช้วางแผนให้การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการปรับปรุงและซ่อมแซมฝายให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม
2) หน่วยงานราชการ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน สามารถนำข้อมูลมาวางแผนการบริหารจัดการ เพื่อการวางแผนแก้ไขปัญหาการขาดศักยภาพของฝายในพื้นที่ได้โดยใช้รูปแบบการวางแผนแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต้นแบบเป็นตัวอย่างได้
3) องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้เพื่อกำหนดนโยบาย และติดตามงานด้านบริหารจัดการน้ำ การจัดการภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่
2) หน่วยงานราชการ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน สามารถนำข้อมูลมาวางแผนการบริหารจัดการ เพื่อการวางแผนแก้ไขปัญหาการขาดศักยภาพของฝายในพื้นที่ได้โดยใช้รูปแบบการวางแผนแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต้นแบบเป็นตัวอย่างได้
3) องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้เพื่อกำหนดนโยบาย และติดตามงานด้านบริหารจัดการน้ำ การจัดการภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่
3.2 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง จังหวัดลำปาง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด กรมเจ้าท่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ องค์กรสาธารณกุศล อาสาสมัคร และประชาชน
4. เป้าหมาย ผลผลิต และผลลัพธ์ :
4.1 เป้าหมายโครงการ :
ตัวชี้วัด | หน่วยนับ | ปี 2567 |
---|---|---|
จังหวัดลำปางมีระบบสารสนเทศการตรวจประเมินและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝาย พร้อมแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือภัยแล้งและน้ำท่วม ในพื้นที่ทุกตำบลครอบคลุม 13 อำเภอในจังหวัดลำปาง |
ระบบ | 1 |
4.2 ผลผลิต :
1) พื้นที่จังหวัดลำปาง จำนวน 13 อำเภอ มีระบบการตรวจประเมินและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายพร้อมแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือภัยแล้งและน้ำท่วม นอกจากนี้น้ำที่เก็บกักหน้าฝายจะเป็นแหล่งเติมน้ำให้กับชั้นน้ำใต้ดินในพื้นที่ได้
2) มีฐานข้อมูลและแนวคิดสำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงฝายครอบคลุมทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้วางแผนและออกแบบรายละเอียดในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมได้ เพื่อให้หน่วยงานมีความพร้อมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติจริง
4.3 ผลลัพธ์ :
ฝายในทุกตำบลในพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง ได้รับการประเมินสภาพและปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถยกระดับผันน้ำเข้าคลองหรือเหมืองส่งน้ำไปใช้ในฤดูการเพาะปลูก และสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม
นอกจากนี้น้ำที่เก็บกักหน้าฝายจะเป็นแหล่งเติมน้ำให้กับชั้นน้ำใต้ดินในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี มีฐานข้อมูลการตรวจประเมินสภาพฝายครอบคลุมทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง
รูปภาพขอบเขตการดำเนินโครงการในพื้นที่ทั้งหมด 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง
ดาวน์โหลด : แผนที่แสดงขอบเขตของโครงการ