แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม (Flood Hazard Map)
สร้างแผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมของเหตุการณ์น้ำท่วม ใหญ่ที่ผ่านมาในอดีตและเหตุการณ์โดยการจำลองขนาดน้ำท่วมเป้าหมาย ซึ่งเป็นแผนที่แสดงสภาพและข้อมูลการท่วม ได้แก่พื้นที่ที่คาดการณ์ว่าน้ำจะท่วม ความลึกของน้ำที่ท่วม รวมทั้งข้อมูลสำหรับการอพยพ เช่น จุดอพยพ เส้นทางการอพยพ จุดอันตรายในเส้นทางอพยพ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะแสดงในรูปแบบของรูปภาพที่เข้าใจง่าย โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้สามารถอพยพประชาชนไปอยู่ ในที่ปลอดภัยได้อย่างเหมาะสม ทันเวลา ในกรณีที่เกิด เหตุการณ์น้ำท่วมขึ้น
แผนที่ระดับความลึกของน้ำในแต่ละพื้นที่
เป็นการพยากรณ์และคาดการณ์ความสูงของระดับน้ำในพื้นที่น้ำท่วมแต่ละบริเวณโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลและวัดค่าระดับคราบน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในพื้นที่แล้วใช้เทคนิคการประมาณค่าในช่วงโดยการใช้ข้อมูลที่ได้จากการเก็บจุดตัวอย่างกระจายไปตามพื้นที่และทำนายค่าที่เป็นไปได้ให้กับตำแหน่งที่ไม่ได้เก็บค่า แล้วจึงนำมาจัดทำแผนที่แสดงความลึกของระดับน้ำในพื้นที่น้ำท่วม โดยการแสดงความลึกในแต่ละพื้นที่ด้วยการใช้สีตามระดับความลึกของระดับน้ำท่วม ซึ่งในบริเวณที่มีความลึกมากจะแทนด้วยสีเข้ม
แผนที่ภาพตัดขวางความลึกของน้ำท่วม
Download : 9 MB/.zip
แผนที่ประมาณการระดับความลึกของน้ำท่วม
Download : 6.3 MB/.zip
แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศซ้อนทับประมาณการระดับความลึกของน้ำท่วม
Download : 6.2 MB/.zip
แผนที่ฐานซ้อนทับประมาณการระดับความลึกของน้ำท่วม
Download : 4.2 MB/.zip
แผนที่เส้นทางการอพยพจากพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม
การออกแบบแผนที่มีดำเนินการวิเคราะห์หาเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการกำหนดเส้นทางที่จะใช้ในการอพยพกรณีเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่นั้นได้ทำการแบ่งพื้นที่ที่ได้รับผลจากน้ำที่ไหลเข้าท่วมออกเป็นทั้งสิ้น 7 โซนหลักๆ ตามระดับความสูงของน้ำ ณ จุด P.1 สะพานนวรัตน์ ทำให้สามารถกำหนดลำดับการท่วมของน้ำเข้าสู่พื้นที่ได้ แล้ววิธี Network Analysis โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ เช่น พื้นที่น้ำท่วม เส้นทางการสัญจร สิ่งกีดขวางต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมต่อการตั้งศูนย์อพยพ เส้นทางอพยพ รวมทั้งการแสดงจุดอันตรายในเส้นทางการอพยพ ช่องทางการสื่อสาร เกณฑ์การอพยพ สถานพยาบาลต่างๆ ในพื้นที่ และยังประกอบไปด้วยข้อมูลทิศทางการเดินรถ จำนวนช่องทาง ประเภทหรือชนิดของถนน ความเร็วที่กำหนด รวมไปถึงแยกไฟแดงและจุดห้ามกลับรถ เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในการสั่งให้โปรแกรมประมวลผลของเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการกำหนดเส้นทางที่จะใช้ในการอพยพกรณีเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่นั้น
แผนที่เส้นทางการอพยพจากพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม
Download : 3.4 MB/.zip
แผนที่เส้นทางการอพยพจากพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม
Download : 7 MB/.zip
แผนที่เส้นทางการอพยพจากพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม
Download : 6.5 MB/.zip
แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัย 7 ระดับ
แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมแยกตามระดับความรุนแรง 7 ระดับ ข้อมูลทีใช้ในการวิเคราะห์และจัดทำแผนที่ คือ ข้อมูลขอบเขตพื้นที่น้ำท่วม 7 ระดับ, เส้นทางน้ำ, ข้อมูลหลักระดับน้ำท่วม, ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ และข้อมูลพื้นผิวดิน
หมายเหตุ: ตั้งแต่ พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุงสภาพลำน้ำปิงและสร้างคันดินข้างแม่น้ำปิงในเขตตัวเมือง จนสามารถป้องกันระดับน้ำท่วมได้มากขึ้น โดยน้ำจะเริ่มล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่โซนต่างๆเมื่อค่าระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ P.1 สะพานนวรัฐ มีค่ามากกว่า 4.20 เมตร
แผนที่ภาพภ่ายทางอากาศ แสดงพื้นที่เสี่ยงภัย 7 ระดับ
แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมแยกตามระดับความรุนแรง 7 ระดับนั้น ข้อมูลหลักที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์และจัดทำแผนที่ คือ ข้อมูลขอบเขตพื้นที่น้ำท่วม 7 ระดับ และมีข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบแผนที่ ได้แก่ เส้นทางน้ำ, หมุดระดับน้ำท่วม และข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ
หมายเหตุ: ตั้งแต่ พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุงสภาพลำน้ำปิงและสร้างคันดินข้างแม่น้ำปิงในเขตตัวเมือง จนสามารถป้องกันระดับน้ำท่วมได้มากขึ้น โดยน้ำจะเริ่มล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่โซนต่างๆเมื่อค่าระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ P.1 สะพานนวรัฐ มีค่ามากกว่า 4.20 เมตร
แผนที่แสดงขอบเขตน้ำท่วมปี 2554
มีการออกแบบแผนที่โดยใช้ข้อมูลขอบเขตน้ำท่วมปี พ.ศ. 2554 ที่ได้ทำการปรับปรุงข้อมูลแล้ว มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลขอบเขตพื้นที่ท่วม 7 ระดับ เพื่อเปรียบเทียบและแสดงให้เห็นขอบเขตพื้นที่ที่น้ำท่วม
แผนที่แสดงขอบเขตน้ำท่วมปี 2554
Download : 4.3 MB/.zip
หมายเหตุ: ตั้งแต่ พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุงสภาพลำน้ำปิงและสร้างคันดินข้างแม่น้ำปิงในเขตตัวเมือง จนสามารถป้องกันระดับน้ำท่วมได้มากขึ้น โดยน้ำจะเริ่มล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่โซนต่างๆเมื่อค่าระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ P.1 สะพานนวรัฐ มีค่ามากกว่า 4.20 เมตร
แอนิเมชั่นการขึ้นลงของน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม
ภาพแอนิเมชั่นแสดงการเพิ่มขึ้นของน้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้ง 7 ลำดับ โดยเป็นการประมาณการจากความสูงของระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ P.1 เชิงสะพานนวรัฐ และภาพแอนิเมชั่นการลดลงของน้ำโดยโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจระดับน้ำท่วมในพื้นที่เมืองเชียงใหม่เมื่อปี 2554