โครงการพัฒนาระบบการสำรวจและบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมและภัยแล้ง
บนพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการขั้นสูงในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง
จังหวัดลำปาง
1. หลักการและเหตุผล :
พื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่เมาะ อำเภอแม่ทะ อำเภอเมือง และอำเภอเกาะคา จำนวน 17 ตำบล รวมพื้นที่ประมาณ 1,550 ตารางกิโลเมตร
ลุ่มน้ำแม่จางเป็นลุ่มน้ำหนึ่งของลุ่มน้ำวังเป็นลุ่มน้ำสาขาขนาดกลางที่สำคัญ มีต้นกำเนิดมาจากดอยหลวงและดอยผาแดง มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญคือ ลำน้ำแม่เมาะ ลำน้ำแม่ทะ
และลำน้ำแม่วะ ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จางเป็นพื้นที่ที่ประสบกับปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ไม่น้อย สภาพปัญหาที่พบคือ
ปัญหาการกีดขวางทางน้ำ การถูกบุกรุกของลำน้ำคูคลอง ถนนขวางทางน้ำ จนทำให้ลำน้ำขาดศักยภาพการระบายน้ำ เกิดปัญหาน้ำท่วมและน้ำเน่าเสีย
โดยปัญหานี้จะเพิ่มและรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการขยายตัวของชุมชนเมืองอย่างรวดเร็วและเกิดปัญหาการกีดขวางทางน้ำในลำน้ำคูคลองจำนวนมากกระจายอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ได้ผลนั้น จำเป็นจะต้องใช้องค์ความรู้ด้านวิชาการร่วมกับองค์ความรู้ของชุมชนในฐานะเจ้าของพื้นที่
ในการวางแผนแก้ปัญหาการกีดขวางทางน้ำอย่างเป็นระบบต่อเนื่องกันตลอดลำน้ำ ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์และพัฒนาลำน้ำคูคลอง
ทางระบายน้ำให้กลับมาทำหน้าที่ได้อย่างเดิม จึงจำเป็นต้องจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของลำน้ำคูคลอง และถนน โดยเฉพาะปัญหาการกีดขวางทางน้ำ
ตำแหน่งและลักษณะที่ถูกบุกรุก ลุกล้ำ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำคัญในกำหนดรูปแบบของการวางแผนแก้ไขปัญหาลำน้ำคูคลองถูกบุกรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน
และลงมือปฏิบัติการแก้ไขปัญหาโดยหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน
นอกจากนี้ปัญหาที่สำคัญอีกประการ คือ ฝายและระบบส่งน้ำที่มีอยู่จำนวนมาก มีฝายจำนวนมากที่ชำรุดเสียหายหรือมีประสิทธิภาพไม่ดี
ได้แก่ การขาดความสามารถในการยกระดับผันน้ำเข้าคลองหรือเหมืองส่งน้ำไปใช้ในฤดูการเพาะปลูก ประตูน้ำชำรุด มีตะกอนหน้าฝาย
และขาดความสามารถใช้เก็กกักน้ำไว้ใช้ที่บริเวณหน้าฝายในฤดูแล้ง และมีฝายบางส่วนที่สร้างปัญหากีดขวางทางน้ำ
ซึ่งถ้าแก้ไขปรับปรุงไม่ถูกหลักวิชาการจะก่อให้เกิดปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมขึ้นในพื้นที่ได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะเพิ่มและรุนแรงมากขึ้น
ในแต่ละปีทางภาครัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการบรรเทาปัญหาภัยแล้งจากการขาดประสิทธิภาพของฝาย
ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไม่มีความยั่งยืน ประกอบกับในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จางยังขาดการจัดเก็บระบบฐานข้อมูลสภาพฝายของทุกหน่วยงาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝายที่มีอยู่จำนวนมากที่ก่อสร้างและอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้การวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและ
ภัยแล้งในพื้นที่เกษตรที่ใช้น้ำจากฝายยังทำได้ไม่ดี หลายหน่วยงานไม่สามารถซ่อมแซมได้เนื่องจากต้องใช้ความรู้ในวิชาการด้านวิศวกรรมชลศาสตร์
และไม่มีการจัดเก็บในรูปแบบเดียวกัน ขาดผลการตรวจประเมินสภาพฝายและไม่มีการเตรียมแนวทางการซ่อมแซมแก้ไขการชำรุดของฝายไว้ล่วงหน้า
ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ได้ผลนั้น จะต้องทำการตรวจประเมินสภาพฝายและระบบส่งน้ำซึ่งเป็นการตรวจสภาพการใช้งานและความเสี่ยงต่อความปลอดภัยขององค์ประกอบต่าง ๆ
ของฝาย และใช้องค์ความรู้ด้านวิชาการร่วมกับองค์ความรู้ของชุมชน มาวางแนวทางปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของฝาย เพื่อให้กลับมามีประสิทธิภาพทำหน้าที่ได้และขณะเดียวกันต้องไม่ทำให้เกิดปัญหากีดขวางทางน้ำ
นอกจากนี้น้ำที่เก็บกักหน้าฝายจะเป็นแหล่งเติมน้ำให้กับชั้นน้ำใต้ดินระดับตื้นในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบการสำรวจและบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมและภัยแล้งบนพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการขั้นสูง
เพื่อจะได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยน้ำท่วมและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จางอย่างเป็นระบบ โดยเน้นกิจกรรมหลักมุ่งเป้าเร่งด่วน (Quick Win)
สำหรับการบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมและภัยแล้งซ้ำซาก ได้แก่ (1) กิจกรรมพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศการตรวจประเมินและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง
เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมถูกหลักวิชาการ มีการรวบรวมตำแหน่งของฝายทุกแห่งที่มีปัญหา และแนวทางวิธีการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบในแต่ละแห่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝายที่มีอยู่จำนวนมากที่ก่อสร้างและอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน โดยผลผลิตที่ได้จะใช้เป็นข้อมูลสำคัญในกำหนดรูปแบบของการวางแผน
การจัดหางบประมาณ และลงมือปฏิบัติการแก้ไขปัญหาต่อไปโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังสามารถนำผลผลิตไปใช้วางแผนให้การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ
ในการปรับปรุงและซ่อมแซมฝายให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม และ (2) กิจกรรมพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของสิ่งกีดขวางทางน้ำในลำน้ำคูคลองและถนนที่มีปัญหาการกีดขวางทางน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง
โดยมีการสำรวจและจัดทำระบบข้อมูลของสิ่งกีดขวางทางน้ำทุกแห่ง พร้อมข้อเสนอแนะวิธีการและกำหนดรูปแบบวิธีการแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำในแต่ละแห่งจากผู้เชี่ยวชาญ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
มีการรวบรวมตำแหน่งที่เกิดปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา ไม่ให้เกิดปัญหากับพื้นที่ด้านท้ายน้ำ มีการวางแผนการระบายน้ำให้เป็นระบบต่อเนื่องกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1) พัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจประเมินและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง โดยใช้ความรู้ในทางวิชาการร่วมกับองค์ความรู้ของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝายที่มีอยู่จำนวนมากที่ก่อสร้างและอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของสิ่งกีดขวางทางน้ำในลำน้ำคูคลองและถนนที่มีปัญหาการกีดขวางทางน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง พร้อมข้อเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำในแต่ละแห่งจากผู้เชี่ยวชาญ
3. กลุ่มเป้าหมาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :
3.1 กลุ่มเป้าหมาย :
1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ สามารถนำผลผลิตไปใช้วางแผนให้การสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ปัญหาการกีดขวางทางน้ำ และการปรับปรุงซ่อมแซมฝายให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม
2) หน่วยงานราชการ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน สามารถนำข้อมูลข้อเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำจากผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ มาวางแผนการบริหารจัดการ เพื่อการวางแผนแก้ไขปัญหาการขาดศักยภาพการระบายน้ำในพื้นที่ได้
3) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ สามารถใช้เพื่อกำหนดนโยบาย และติดตามงานด้านบริหารจัดการน้ำ การจัดการภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่
2) หน่วยงานราชการ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน สามารถนำข้อมูลข้อเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำจากผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ มาวางแผนการบริหารจัดการ เพื่อการวางแผนแก้ไขปัญหาการขาดศักยภาพการระบายน้ำในพื้นที่ได้
3) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ สามารถใช้เพื่อกำหนดนโยบาย และติดตามงานด้านบริหารจัดการน้ำ การจัดการภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่
3.2 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง จังหวัดลำปาง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด กรมเจ้าท่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ องค์กรสาธารณกุศล อาสาสมัคร และประชาชน
4. เป้าหมาย ผลผลิต และผลลัพธ์ :
4.1 เป้าหมายโครงการ :
ตัวชี้วัด | หน่วยนับ | ปี 2566 |
---|---|---|
พื้นที่ลุ่มน้ำแม่จางมีระบบสารสนเทศการตรวจประเมินและวางแผน
ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝาย พร้อมแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือภัยแล้งและน้ำท่วม |
ระบบ | 1 |
พื้นที่ลุ่มน้ำแม่จางมีระบบข้อมูลสารสนเทศของสิ่งกีดขวางทางน้ำในลำน้ำ
คูคลองและถนนที่มีปัญหา การกีดขวางทางน้ำ พร้อมวิธีการแก้ไขปัญหา การกีดขวางทางน้ำในแต่ละแห่ง |
ระบบ | 1 |
4.2 ผลผลิต :
1) มีระบบการตรวจประเมินและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายพร้อมแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือภัยแล้งและน้ำท่วม นอกจากนี้น้ำที่เก็บกักหน้าฝายจะเป็นแหล่งเติมน้ำให้กับชั้นน้ำใต้ดินในพื้นที่ได้
2) มีฐานข้อมูลและแนวคิดสำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงฝาย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้วางแผนและออกแบบรายละเอียดในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมได้
3) มีระบบฐานข้อมูลของสิ่งกีดขวางทางน้ำในลำน้ำคูคลองและถนนที่มีปัญหาการกีดขวางทางน้ำ พร้อมวิธีการแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำในแต่ละแห่ง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้วางแผนและออกแบบรายละเอียดในการแก้ปัญหาการกีดขวางทางน้ำที่เหมาะสมได้
2) มีฐานข้อมูลและแนวคิดสำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงฝาย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้วางแผนและออกแบบรายละเอียดในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมได้
3) มีระบบฐานข้อมูลของสิ่งกีดขวางทางน้ำในลำน้ำคูคลองและถนนที่มีปัญหาการกีดขวางทางน้ำ พร้อมวิธีการแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำในแต่ละแห่ง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้วางแผนและออกแบบรายละเอียดในการแก้ปัญหาการกีดขวางทางน้ำที่เหมาะสมได้
4.3 ผลลัพธ์ :
1) ฝายในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง ได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถยกระดับผันน้ำเข้าคลองหรือเหมืองส่งน้ำไปใช้ในฤดูการเพาะปลูก และสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม นอกจากนี้น้ำที่เก็บกักหน้าฝายจะเป็นแหล่งเติมน้ำให้กับชั้นน้ำใต้ดินในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
2) ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง ได้รับแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำในแต่ละแห่ง ครอบคลุมอำเภอแม่เมาะ อำเภอแม่ทะ อำเภอเมือง และอำเภอเกาะคา จำนวน 17 ตำบล สามารถนำไปวางแผนและออกแบบรายละเอียดในการแก้ปัญหาการกีดขวางทางน้ำได้อย่างเหมาะสม
2) ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง ได้รับแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำในแต่ละแห่ง ครอบคลุมอำเภอแม่เมาะ อำเภอแม่ทะ อำเภอเมือง และอำเภอเกาะคา จำนวน 17 ตำบล สามารถนำไปวางแผนและออกแบบรายละเอียดในการแก้ปัญหาการกีดขวางทางน้ำได้อย่างเหมาะสม